สร้างระบบ e-lecture ด้วยโปรแกรม 360 Active Learning Platform (ALP)
13 กันยายน พ.ศ. 2559 Ajarn Rachnee Kraikum สถาบันภาษา เปิดอ่านแล้ว 15 ครั้ง

รายงานสรุป

 

การเข้าร่วมฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง

 

สร้างระบบ e-lecture ด้วยโปรแกรม 360 Active Learning Platform (ALP)

วันพุธที่ ๙ มีนาคม ๒๕๕๙ 

เวลา ๑๓.๐๐๑๖.๓๐ น.

 

ณ  ห้องปฎิบัติการคอมพิวเตอร์ ๑๑๐ ชั้น ๑ สำนักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

 

1. วัตถุประสงค์ : การอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับระบบ e-lecture ด้วยโปรแกรม 360 Active Learning Platform (ALP) และเพื่อให้ผู้เข้าอบรมสามารถติดตั้งระบบ e-lecture และนำไปประยุกต์กับการจัดการเรียนการสอนของหน่วยงาน

 

2. เนื้อหาและหัวข้อการอบรม มีดังนี้:

          2.1  กรณีศึกษาการใช้ระบบบันทึกการเรียนการสอนในมหาวิทยาลัยชั้นนำ

 

การสร้างบัญชีผู้ใช้ Google Applications for Education โดยใช้ที่อยู่อีเมล์ของมหาวิทยาลัยที่สำนักคอมพิวเตอร์ได้สร้างบัญชีให้กับผู้ใช้ที่เป็นบุคลากรและนิสิตแล้ว  และเพิ่ม “go” ไว้ในที่อยู่อีเมล์ดังกล่าวเช่น name@go.buu.ac.th

 

          2.2 การติดตั้งซอฟต์แวร์บันทึกวีดีโอ สำหรับอาจารย์

 

2.3 การจัดการเรียนการสอนด้วยโปรแกรม 360 Active Learning Platform (ALP)

 

Google Applications for Education ตามหัวข้อการอบรมมีเนื้อหาเกี่ยวกับ 5 แอพพลิเคชั่นที่สามารถนำมาปรับใช้กับการเรียนการสอนรายวิชาภาษาอังกฤษ

2.2.1  Google Drive

(1) เป็นแอพพลิเคชั่นที่ทำหน้าที่เป็น hard disk ของเครื่องคอมพิวเตอร์

(2) ใช้สำหรับการจัดเก็บหรืออัพโหลดไฟล์ขนาดใหญ่ที่มีบรรจุข้อมูลจำนวนมาก  

(3) ผู้ใช้ที่ได้รับการกำหนดสิทธิ์ให้เข้าถึงไฟล์หรือโฟลเดอร์ที่เก็บไว้ใน Google Drive

    สามารถล็อคอินเพื่อเรียกดู แก้ไข เพิ่มเติม หรือ พิมพ์ข้อมูลจากไฟล์ต่างๆได้ แทนการส่ง

    ไฟล์แนบอีเมล์ส่งกลับถึงกันไปมา

(4) ผู้ใช้สามารถเข้าถึง Google Drive ได้ด้วย username@go.buu.ac.th

 

2.2.2 Google Classroom เป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับ

(1) การสร้างห้องเรียนออนไลน์เพื่อให้อาจารย์สามารถให้คำแนะนำแก่นิสิตได้ตามเวลาที่

     กำหนดนัดหมายหรือตลอดเวลาแม้ไม่ได้อยู่ในห้องเรียน

          (2) การโพสต์เนื้อหา/ข่าว/ประกาศบน Google Classroom

          (3) การมอบหมายงาน การสั่งการบ้านอัตนัย และตรวจการบ้านให้คะแนน

          (4) การส่งงานเป็นไฟล์เอกสารได้แทนการใช้กระดาษ (สำหรับนิสิต/ผู้เรียน)

          (5) การจัดเก็บเอกสารงานที่นิสิตส่งเข้ามาให้เป็นโฟลเดอร์แยกตามรายวิชา รายกลุ่ม และ

    รายบุคคล ด้วยแอพพลิเคชั่นอื่นๆในข้อ 2.2.3/ 2.2.4/ 2.2.5

(6) การสนทนาแบบเรียลไทม์ระหว่างอาจารย์และนิสิต

(7) ผู้ใช้สามารถเข้าถึง Google Classroom ได้ด้วย username@go.buu.ac.th และ

               classroom.google.com/signup  โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

 

2.2.3 Google Documents เป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับการสร้างเอกสารคล้ายโปรแกรม

Microsoft Word

2.2.4 Google Presentation เป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับการนำเสนองานคล้ายโปรแกรม

Microsoft Power point

2.2.5 Google Spreadsheet เป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับการสร้างแผ่นตารางเป็นช่องสี่เหลี่ยมคล้ายโปรแกรม Microsoft Excel

2.2.6 Google Calendar เป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับการสร้างปฏิทินเพื่อการนัดหมายหรือเตือนความจำกำหนดวันและกิจกรรมต่างๆที่ผู้สร้างและผู้ได้รับการกำหนดสิทธิ์ให้ใช้ปฏิทินได้ทราบข้อมูลที่ตรงกัน รวดเร็วและทั่วถึง

 

แอพพลิเคชั่นตามข้อ 2.2.3/ 2.2.4/ 2.2.5/2.2.6 เป็นแอพพลิเคชั่นที่ไฟล์เอกสารเป็นไฟล์ออนไลน์ที่ผู้ใช้ (อาจารย์/นิสิต) สามารถ

(1) เปิดไฟล์นำเสนองานที่สร้างไว้ผ่านอินเทอร์เน็ตได้โดยไม่ต้องพกพาไฟล์ติดตัว

(2) แชร์ไฟล์ยังเว็บไซต์ต่างๆได้  

(3) save ไฟล์นำเสนอไว้ใน Google Drive ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับการจัดเก็บไฟล์ที่ไฟล์

    จะไม่เสียหายจากไวรัสคอมพิวเตอร์ 

(4) นิสิตสามารถส่งไฟล์นำเสนอให้อาจารย์โดยการส่งลิงค์ออนไลน์แทนการส่งไฟล์ด้วย

    อุปกรณ์ เช่น  CD disk หรือ flash drive

(5) ทั้งอาจารย์และนิสิตสามารถทำงานร่วมกันบนเอกสาร document, presentation และ

               spreadsheet เดียวกันในเวลาเดียวกันได้

(6) เอกสารทุกชนิดจะได้รับการบันทึก (save) โดยอัตโนมัติอยู่ตลอดเวลา

(7) ผู้ใช้สามารถเข้าถึง Google Documents/Google Presentation/Google

    Spreadsheet ผ่าน username@go.buu.ac.th

 

2.3 เอกสารและวีดีโอประกอบการอบรม เข้าถึงได้ที่ URL:  bit.ly/1TOVaA7