โครงการละครเพื่อการเรียนรู้ชุมชน
7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 อาจารย์ไพบูลย์ โสภณสุวภาพ คณะดนตรีและการแสดง เปิดอ่านแล้ว 16 ครั้ง


ประจำปีงบประมาณ ๒๕๕๙

 


 

 

 

 


สาขาศิลปะการแสดง คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา
          ประเภทกิจกรรม

กิจกรรมและแผนการเบิกจ่ายงบประมาณ

ปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๕๙

ต.ค.

พ.ย

ธ.ค.

ม.ค

ก.พ

มี.ค

เม.ย

พ.ค

มิ.ย.

ก.ค.

ส.ค.

ก.ย.

ขั้นวางแผนงาน (Plan)

๑. ออกแบบกระบวนการเรียนรู้ชุมชน โดยบูรณาการกับรายวิชาละครเพื่อการเรียนรู้

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นดำเนินการ (Do)

๑.      ประสานงานผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประสานงานชุมชน และทำความเข้าใจกับนิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาละครเพื่อการเรียนรู้

๒.      จัดกิจกรรมละครเพื่อการเรียนรู้ชุมชน ณ ชุมชนหาดวอนนภา จังหวัดชลบุรี ชุมชนบางคล้า หรือชุมชนบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นสรุปและประเมินผล (Check)

๑.      สรุปการเรียนรู้ผู้เข้าร่วมกิจกรรม

๒.      สรุปโครงการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ขั้นปรับปรุงตามผลการประเมิน(Act)

นำผลที่ได้มาใช้วางแผนปรับปรุงเพื่อทำงานในครั้งถัดไป

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

แผนการเบิกจ่ายงบประมาณ

หน่วย : 20,000บาท

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ลำดับ

รายการ

จำนวน (บาท)

ค่าใช้สอย

 

 

ค่าอาหาร ปฏิบัติงาน ขณะลงชุมชน

(๔๐ คน X ๑๕๐ บาทต่อคน x ๔ วัน)                         

-          ดำเนินงานวันที่ ๖, 12, 19, 20 กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙

๒๔,0๐๐บาท

 

รวมทั้งสิ้น

24,000

โครงการละครเพื่อการเรียนรู้ชุมชน

. ชื่อโครงการ  

โครงการละครเพื่อการเรียนรู้ชุมชน

2. ผู้รับผิดชอบ  R อาจารย์     £  นิสิต

          สาขาศิลปะการแสดง คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา                                                           

๓. ประเภทโครงการ                   £ โครงการใหม่            R  โครงการต่อเนื่อง 

            R ด้านวิชาการที่ส่งเสริมลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์

£ ด้านกีฬาหรือการส่งเสริมสุขภาพ

R ด้านกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์หรือรักษาสิ่งแวดล้อม

R ด้านส่งเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม

R ด้านส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

สนองต่อการพัฒนานิสิตภายในกรอบ (TQF)

R ด้านคุณธรรมและจริยธรรม

R ด้านความรู้

R ด้านทักษะทางปัญญา

R ด้านทักษะความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลและความรับผิดชอบ

R ด้านทักษะการวิเคราะห์เชิงตัวเลข การสื่อสารและการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

๕.  ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัย(ฉบับปรับปรุงปีงบประมาณ พ.ศ. 2559-2563)

R ยุทธศาสตร์ที่ 1 การพัฒนาคุณภาพของบัณฑิต

£ กลยุทธ์ 1.1 การพัฒนากระบวนการคัดเลือกผู้เรียนที่มีศักยภาพ

UPI 1.1-2  จัดสรรทุนการศึกษาสำหรับผู้มีศักยภาพสูงเข้าเรียนในระดับ ป. ตรี

£ กลยุทธ์ 1.2 การพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของสังคม

UPI 1.2-2  การเสริมสร้างความรู้และทักษะของคณาจารย์ในการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning

UPI 1.2-๓  มีการจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ในทุกหลักสูตร

R กลยุทธ์ 1.3 การพัฒนาความรู้และทักษะจากห้องเรียนสู่ชุมชน (From Classroom to Social Engagement) และการพัฒนาการเรียนรู้จากการปฏิบัติและการฝึกประสบการณ์ (Learning by doing)

£ กลยุทธ์ 1.4 การพัฒนาทักษะของนิสิตให้ได้มาตรฐานตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพและมาตรฐานทางด้านภาษาต่างประเทศ

UPI 1.4-5  ร้อยละของหลักสูตรในมหาวิทยาลัยที่กำหนดเกณฑ์มาตรฐานภาษาอังกฤษไว้ในเงื่อนไขการสำเร็จการศึกษา (เฉพาะหลักสูตรปรับปรุง 59)

R กลยุทธ์ 1.5 เน้นการเสริมสร้างพัฒนาทักษะทางสังคม และทักษะการใช้ชีวิตที่เหมาะสมกับบรรทัดฐานของสังคมไทยตามหลักเศรษฐกิจ และมีความสอดคล้องกับขนบธรรมเนียมประเพณีของประเทศไทย

UPI 1.5-1  จัดค่ายเรียนรู้/ กิจกรรมการเรียนรู้ตามโครงการแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ

UPI 1.5-2  กิจกรรมสร้างเสริมทักษะการสื่อสารและทักษะทางสังคมเพื่ออนาคต

£ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพการวิจัยและการบริการวิชาการ

£ กลยุทธ์ 2.1 การส่งเสริมและผลักดันการดำเนินการวิจัยและการบริการวิชาการ

UPI 2.1-10  จำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับชาติ-มนุษย์สังคม

UPI 2.1-11  จำนวนผลงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ-มนุษย์สังคม

£ กลยุทธ์ 2.2 การสร้างและพัฒนาระบบการส่งเสริมการทำวิจัย

£ กลยุทธ์ 2.3 การส่งเสริมและผลักดันผลงานวิจัย นวัตกรรม หรือผลงานในรูปแบบอื่น ๆ ไปสู่การใช้ประโยชน์

UPI 2.3-4  จำนวนผลงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ที่นำไปใช้ประโยขน์

£ กลยุทธ์ 2.4 การกำหนดภาระงานและตัวชี้วัดสำคัญ (Key Performance Indicators: KPIs)

£ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพของบุคลากร

£ กลยุทธ์ 3.1 การส่งเสริมและผลักดันการดำเนินการด้านการพัฒนาบุคลากร

UPI 3.1-1  การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ ระดับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์

UPI 3.1-2  การเข้าสู่ตำแหน่งทางวิชาการของอาจารย์ ระดับ รองศาสตราจารย์

UPI 3.1-6  การพัฒนาทักษะการบริหารงานวิจัยและการบริการวิชาการ

£ กลยุทธ์ 3.2 การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์การ

UPI 3.2-4  กิจกรรมส่งเสริมจรรยาบรรณ

£ กลยุทธ์ 3.3 การสร้างระบบการสรรหา รักษาไว้ใช้งาน และพัฒนา

UPI 3.3-3  การจัดทำแผนอัตรากำลัง (คณาจารย์และบุคลากรสนับสนุนวิชาการ)

£ กลยุทธ์ 3.4 การส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาทักษะทางภาษาต่างประเทศ และทักษะทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ

R ยุทธศาสตร์ที่ 4 การมีส่วนร่วมและการรับผิดชอบต่อสังคม

£ กลยุทธ์ 4.1 การพัฒนามหาวิทยาลัยไปสู่การเป็น Green University

R กลยุทธ์ 4.2 การส่งเสริมการวิจัยหรือการบริการวิชาการเพื่อการอนุรักษ์และเผยแพร่ภูมิปัญญาท้องถิ่น

UPI 4.2-4  จำนวนโครงการพัฒนากิจกรรมสัมพันธ์แบบบูรณาการสาขาวิชา

R กลยุทธ์ 4.3 การส่งเสริมกิจกรรมด้านการทำนุบำรุงศิลปะ วัฒนธรรม ศาสนา และการกีฬา

UPI 4.3-4  จำนวนโครงการศิลปะ วัฒนธรรม ศาสนา กีฬา

£ กลยุทธ์ 4.4 การส่งเสริมแนวคิดตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงและเศรษฐกิจสร้างสรรค์

£ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการภายใน

£ กลยุทธ์ 5.1 พัฒนาระบบบริหารจัดการตามเกณฑ์มาตรฐาน Thailand Quality Class

UPI 5.1-1  พัฒนาผู้ประเมิน TQA

UPI 5.1-4  แผนการพัฒนาระบบบริหาร (ส่วนงานและส่วนกลาง) ให้ผ่านเกณฑ์

UPI 5.1-7  ระดับความสำเร็จการพัฒนาระบบบริหารให้ผ่านเกณฑ์ TQA ในระดับ TQC

๖.  ความสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ส่วนงาน (ฉบับปรับปรุงปีงบประมาณ พ.ศ. 2559-2563)

£ ยุทธศาสตร์ที่ ๑ การสร้างและพัฒนาบัณฑิตด้านดนตรีและการแสดงบนรากวิถีไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ

£ กลยุทธ์ที่ 1.๑  การพัฒนาการเรียนการสอนและกิจกรรมพัฒนานิสิตอย่างบูรณาการ สร้างสรรค์ และทันสมัย 

£ กลยุทธ์ที่ ๑.๒ จัดให้มีการแลกเปลี่ยนนิสิตระหว่างสถาบันการศึกษาโดยใช้เครือข่ายจากการทำบันทึกความร่วมมือ (MOU) กับมหาวิทยาลัยชั้นนำในต่างประเทศ

£ กลยุทธ์ที่ ๑.๓  พัฒนาห้องเรียนที่มีอยู่ให้เป็น Smart Classroom & Studio และใช้ระบบ e-learning ในการเรียนการสอน

R ยุทธศาสตร์ที่ 2 การพัฒนาคุณภาพงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ด้านดนตรีและการแสดงบนรากวิถีไทยในระดับนานาชาติ

£ กลยุทธ์ที่ ๒.การพัฒนาและรังสรรค์ ผลงานวิจัย และงานสร้างสรรค์ของคณาจารย์และนักวิจัย

R กลยุทธ์ที่ ๒.๒  การพัฒนาโครงการวิจัยหรืองานสร้างสรรค์ โดยการนำองค์ความรู้ที่ได้ไปบูรณาการ

£ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรให้มีสมรรถนะในระดับสากล

£ กลยุทธ์ที่ ๓.1  การพัฒนาศักยภาพและความเป็นมืออาชีพของบุคลากร

£ กลยุทธ์ที่ ๓.๒  การพัฒนาบุคลากรเข้าสู่ตำแหน่งวิชาการและผู้เชี่ยวชาญเฉพาะ

R ยุทธศาสตร์ที่ ๔ การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและสังคมด้วยศิลปะและวัฒนธรรม

£ กลยุทธ์ที่ ๔.รวบรวมองค์ความรู้ สร้างเครือข่าย ด้านศิลปะวัฒนธรรมของภาคตะวันออกด้วยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ

Rกลยุทธ์ที่ ๔.๒  การบูรณาการการเรียนการสอน งานวิจัย งานสร้างสรรค์ ทำนุบำรุงศิลปะและวัฒนธรรม บริการวิชาการ โดยนำเผยแพร่เพื่อพัฒนาชุมชนและสังคม

£ ยุทธศาสตร์ที่ 5 การพัฒนาการบริหารองค์การให้เข้มแข็งและยั่งยืน

£ กลยุทธ์ที่ ๕.1  การประชาสัมพันธ์ และพัฒนาภาพลักษณ์องค์การ

£ กลยุทธ์ที่ ๕.๒  การพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศให้เป็นขุมปัญญาตะวันออก

£ กลยุทธ์ที่ ๕.๓  การสร้างรายได้และหาแหล่งทุนเพื่อการพัฒนาองค์การให้เข้มแข็ง

 

๗.  การบูรณาการงานบริการวิชาการกับ

          ๗.1  R การเรียนการสอน  

                   ๖๒๔๓๑๑        ละครเพื่อการเรียนรู้ (Theatre for Learning)

                   ๗๗๒๒๖๑        ละครเพื่อการเรียนรู้ (Theatre for Learning)

          7.2  £  การวิจัย

                   £  ระบุโครงการวิจัย

£  อื่น ๆ

          7.๓  R กลุ่มสาขา

                   R  บูรณาการในกลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

                   £  บูรณาการในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ

                   £  บูรณาการในกลุ่มสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

                   £  บูรณาการในกลุ่มสถาบัน/สำนัก

                   £  บูรณาการระหว่างวิทยาเขตจันทบุรีกับวิทยาเขตสระแก้ว

 

๘.  หลักการและเหตุผล

                    คนที่มีคุณภาพ ไม่ได้หมายถึงคนที่มีความเชี่ยวชาญในทักษะวิชาชีพที่เรียนเท่านั้น แต่หมายถึงคนที่มีคุณธรรม มีความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ซึ่งมหาวิทยาลัยบูรพาเน้นสร้างคนในลักษณะดังกล่าว โดยระบุไว้ในบทสรุปผู้บริหาร ที่มุ่งสร้างบัณฑิตให้มีคุณธรรม มีความสามารถทางการบริหารจัดการ เป็นที่ยอมรับและเชื่อมั่นของสังคม สามารถสร้างสรรค์คุณค่าและคุณประโยชน์แก่สังคม นอกจากนี้มหาวิทยาลัยยังวางยุทธศาสตร์เรื่องการบริการวิชาการสู่สังคมร่วมสร้างสังคมอุดมปัญญาที่พึ่งตนเอง สนับสนุนให้บุคลากรได้ใช้ความรู้ที่ตนเองมี ร่วมสร้างสังคม โดยเปิดโอกาสให้จัดกิจกรรมแบบบูรณาการรายวิชากับโครงการต่างๆ ที่สามารถพัฒนานิสิตได้จริง ซึ่งการดำเนินงานจำเป็นต้องสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนใหม่ที่นำมาใช้ในห้องเรียนและนอกห้องเรียน  เพื่อนำไปสู่บัณฑิตที่มีคุณลักษณะที่พึงประสงค์

          โครงการละครเพื่อการเรียนรู้ชุมชน เป็นโครงการของสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะดนตรีและการแสดง จัดกิจกรรมเพื่อพัฒนาผู้เรียน โดยผนวกการเรียนการสอนในรายวิชาละครเพื่อการเรียนรู้ กับการเรียนรู้ชุมชน ผ่านโครงการละครเพื่อการเรียนรู้ชุมชน ทำกิจกรรมทั้งในและนอกชั้นเรียน มุ่งส่งเสริมให้นิสิตสาขาศิลปะการแสดง ได้เรียนรู้เนื้อหาของรายวิชาละครเพื่อการเรียนรู้ผ่านการฝึกปฏิบัติจริง มุ่งหวังให้นิสิตเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์เกิดคุณธรรม เกิดสำนึกต่อโลก รู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมตามกำลังที่ตนมี การจัดโครงการในครั้งนี้จะทำงานร่วมกับชุมชนในภาคตะวันออก เพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้ของนิสิตและเป็นพื้นที่ทำงานร่วมกันระหว่างนิสิตกับคนในชุมชน  

๙.  วัตถุประสงค์

๙.๑  เพื่อพัฒนาศักยภาพนิสิตและให้นิสิตได้เรียนรู้จักชุมชน ผ่านการกิจกรรมละครเพื่อเรียนรู้ชุมชน

๙.๒  เพื่อพัฒนาศักยภาพนิสิตด้านคุณธรรม สำนึกที่มีต่อโลก การมีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อมผ่านการทำโครงงานนอกชั้นเรียน

 

๑๐.  กลุ่มเป้าหมาย

          10.๑  กลุ่มเป้าหมาย

                   -  บุคคลทั่วไป                                จำนวน  100    คน

                   -  นักเรียน/นิสิต/นักศึกษาจากภายนอก    จำนวน 100    คน

                   -  ชุมชน/องค์กร                              จำนวน  ๑        ชุมชน

                   -  อื่น ๆ                                       จำนวน -         คน

          10.๒  พื้นที่/ชุมชนเป้าหมาย

                   ชุมชนบางคล้า ตำบลบางคล้า  จังหวัดฉะเชิงเทรา

                   ประชาคมมหาวิทยาลัยบูรพา

๑๑.  สถานที่ดำเนินงาน

ห้องเรียนการแสดง คณะดนตรีและการแสดง

ชุมชนบางคล้า ตำบลบางคล้า  จังหวัดฉะเชิงเทรา

ลานกิจกรรม หรือพื้นที่อื่นๆ สำหรับจัดแสดง ในมหาวิทยาลัยบูรพา

๑๒.  กำหนดการจัดโครงการ

วันที่ 1  เดือนกันยายน    พ.ศ.2559  ถึง  วันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ.2559

๑๓. ขั้นตอนและแผนการดำเนินงาน   (PDCA)

๑๔.  งบประมาณ

£  เงินอุดหนุนจากรัฐบาล...................................บาท 

P  เงินรายได้คณะดนตรีและการแสดง     20,000          บาท 

          แผนงานจัดการศึกษาอุดมศึกษา             งานบริหารทั่วไป

กองทุนทั่วไป                                  หมวดเงินอุดหนุนทั่วไป

เงินอุดหนุนโครงการตามแผนยุทธศาสตร์

P  ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภายนอก 4,000 บาท 

รายละเอียดค่าใช้จ่าย  

 

รวมทั้งสิ้น (สองหมื่นสี่พันบาทถ้วน)

หมายเหตุ       

ได้รับเงินสนับสนุนจากคณะฯ  ๒๐,๐๐๐ บาท

๑๕.  ตัวชี้วัดตามเป้าหมาย

๑๔.๑  ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ: จำนวนผู้เข้าร่วมโครงการ

          นิสิตที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาละครเพื่อการเรียนรู้  จำนวน ๔๐ คน

          ผู้ร่วมกิจกรรมในชุมชน (นักเรียน ครู หรือชาวบ้าน)  จำนวน ๒๐๐ คน

ร้อยละของผู้รับบริการนำความรู้ไปใช้ประโยชน์ -

          ๑๔.๒  ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ: โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ของโครงการคิดเป็นร้อยละ ๘๐ %

ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพจะสังเคราะห์ผลการเรียนรู้เป็นภาพรวม และแจกแจงเป็นข้อมูลเชิงพรรณนา

๑๔.๓  ตัวชี้วัดเชิงเวลา : โครงการแล้วเสร็จตามระยะเวลาที่กำหนดคิดเป็นร้อยละ ๑๐๐%

          ๑๔.๔  ตัวชี้วัดเชิงต้นทุน : ค่าใช้จ่ายของโครงการ   ๒๐,๐๐๐ บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)

๑๖.  ผลที่คาดว่าจะได้รับ

๑๖.๑ นิสิตและอาจารย์ที่เข้าร่วมกิจกรรมได้เรียนรู้จักชุมชนและมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมละครหรือกิจกรรมอื่นๆ กับชุมชน

๑๖.๒ สาขาศิลปะการแสดง ได้บริการวิชาการสู่สังคมภายนอก

๑๖.๓ บุคคลภายนอกมหาวิทยาลัยรู้จักมหาวิทยาลัยบูรพา ในฐานะการใช้งานศิลปะกับชุมชน

๑๗.  การรายงานผล

       ส่งรายงานผลการดำเนินโครงการ  ภายใน  ๓๐  วัน  เมื่อดำเนินโครงการเสร็จเรียบร้อย

 

 

                                                                 (นายไพบูลย์  โสภณสุวภาพ)

                                                          ผู้ช่วยคณบดีบดีฝ่ายบริหารศูนย์วิจัยและนวัตกรรมฯ

                                                                ผู้รับผิดชอบโครงการ

 

 

                                                                  ลงชื่อ.........................................................หัวหน้าส่วนงาน

                                                                            (นายสัณห์ไชญ์  เอื้อศิลป์)

                                                                         คณบดีคณะดนตรีและการแสดง

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รายงานสรุปผล

โครงการละครเพื่อการเรียนรู้ชุมชน ประจำปี ๒๕๕๙

 สาขาศิลปะการแสดง คณะดนตรีและการแสดง มหาวิทยาลัยบูรพา

เดือนสิงหาคม-กันยายน พ.ศ. ๒๕๕๙

 

โครงการละครเพื่อการเรียนรู้ชุมชน ประจำปี ๒๕๕๙ เป็นโครงการของสาขาวิชาศิลปะการแสดง คณะดนตรีและการแสดง จัดขึ้นเพื่อพัฒนาผู้เรียนผ่านโครงการละครเพื่อการเรียนรู้ชุมชน โดยผนวกกับการเรียนการสอนรายวิชาละครเพื่อการเรียนรู้ จัดกิจกรรมทั้งในและนอกชั้นเรียน ทั้งนี้ผู้จัดกิจกรรมได้นำความรู้จากงานวิจัย มาบูรณาการและพัฒนาเป็น “กระบวนการเรียนรู้ชุมชนผ่านละคร” ผลงานบทละครที่เลือกมาใช้เป็นแบบฝึกหัดสำหรับผู้เรียนครั้งนี้ คือบทละคร เรื่องบางปะกงสายน้ำแห่งมังกร ที่พัฒนามาจากงานวิจัย เรื่องการสร้างเสริมลักษณะนิสัยของเยาวชนในมิติของความเป็นมนุษย์ ด้วยชุดกระบวนการศิลปะการละคร ซึ่งได้รับทุนวิจัยจากคณะดนตรีและการแสดง ปีงบประมาณ ๒๕๕๘ โครงการนี้มุ่งหวังให้นิสิตเกิดคุณลักษณะที่พึงประสงค์เกิดคุณธรรม เกิดสำนึกต่อโลก รู้สึกว่าตนเองมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมตามกำลังที่ตนมี เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชุมชนและสังคมด้วยงานกระบวนการศิลปะการละคร ซึ่งเป็นแขนงวิชาด้านศิลปะ และวัฒนธรรม

กิจกรรมนี้ จัดขึ้นระหว่างเดือนสิงหาคม - กันยายน ๒๕๕๙ โดยมีนิสิตที่ลงเรียนรายวิชาละครเพื่อการเรียนรู้เป็นกลุ่มเป้าหมายหลัก โดยทำหน้าที่เป็นแกนนำในการจัดกิจกรรม จำนวน ๑๔ คน และเป็นมีนิสิตร่วมชมประสบการณ์จำนวน ๔๕ คน และทำงานร่วมกับชุมชนภาคตะวันออก ๒ ชุมชน คือ ชุมชนท่าสะอ้าน อำเภอบางปะกง และชุมชนสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ซึ่งเพื่อเป็นพื้นที่เรียนรู้ของนิสิตและเป็นพื้นที่ทำงานร่วมกันระหว่างนิสิตกับคนในชุมชน  

 

ผลการดำเนินงาน

 

เดือนสิงหาคม

วางแผนการทำงาน ชวนมอง ชวนคิดเกี่ยวกับ “ละครกับการเรียนรู้ชุมชน” ชักชวนผู้ที่สนใจเข้าร่วมเป็นแกนนำ ร่วมเป็นทีมแสดงละคร จากนั้นแบ่งทีมเพื่อซ้อมละคร จัดกระบวนการเติมข้อมูลผ่านการชมรายการสองกำลังสื่อ ตอนภารกิจพิชิตแรมซ่าส์ และซักซ้อมความเข้าใจเรื่องการลงชุมชน

 

 

บทบาทตัวละครในบทละครเรื่องบางปะกงสายน้ำแห่งมังกร

 

จัดกระบวนการเรียนรู้จักตนเอง และเพิ่มมุมมองเกี่ยวกับการอยู่ร่วมกัน

 

 

 

เดือนกันยายน

          ต้นเดือนกันยายนทำงานสองส่วน

ส่วนแรก เป็นกระบวนการเตรียมทีมงานและจัดซ้อมละคร ทำงานในมหาวิทยาลัย

 

 

บรรยากาศการจัดเตรียมงานละคร การซ้อมละคร ณ มหาวิทยาลัยบูรพา

   

ซ้อมใหญ่ในพื้นที่ โล่งแจ้ง เพราะวันจัดแสดงจริง ต้องแสดงในลานชุมชน ข้างแม่น้ำ พื้นที่กลางแจ้ง

ส่วนที่สอง สำรวจชุมชนและประสานชุมชน เพื่อจัดหาสถานที่และชุมชน โดยทำงานร่วมกับกลุ่มคุ้มครองบางคล้า ซึ่งเป็นคนในพื้นที่ และได้ข้อมูลว่ากำลังเตรียมงานวันอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำ คู คลองแห่งชาติ ซึ่งแต่ละอำเภอของจังหวัดฉะเชิงเทราจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี

 

โปรแกรมการทำงาน

วันอังคารที่ ๖ กันยายน – ลงพื้นที่ลงสำรวจชุมชนบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

08.00 – 10.00 น.      เดินทางจากมหาวิทยาลัยบูรพา สู่ชุมชนบางคล้า

จังหวัดฉะเชิงเทรา

10.00  - 12.00 น.      ร่วมพูดคุยกับชาวบ้านชุมชนบางคล้า

๑๒.๐๐ – ๑๓.00 น.      พักรับประทานอาหารกลางวัน

๑๓.๐๐ – ๑๖.๐๐ น.      สำรวจเส้นทางชุมชนบางคล้า

๑๖.๐๐ – ๑๘.๐๐ น.      เดินทางกลับมหาวิทยาลัยบูรพาและรับประทานอาหารเย็น

 

                   จากการประสานงานกับชุมชน ทำให้ทราบความต้องการของชุมชน โดยชุมชนประสานให้จัดกิจกรรมแสดงละคร เรื่องบางปะกงสายน้ำแห่งมังกร เพิ่มอีก ๑ วัน จากเดิมกำหนดแสดงแค่ ๑ วัน ทำให้ทีมงานได้รับโอกาสร่วมงานสำคัญ ๒ พื้นที่ (๒ ชุมชน) คือ ชุมท่าสะอ้าน อำเภอบางปะกง และ ชุมชนสาวชะโงก อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

 

บรรยากาศการลงชุมชน

 

 

 

พื้นที่แรก ชุมชนท่าสะอ้าน อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา

ช่วงเช้า จัดกิจกรรมที่ โรงเรียนวัดท่าสะอ้าน  บูรณะสินอนุสรณ์ วันจันทร์ที่ ๑๙ กันยายน เป็นงานชุมชน ซึ่งจัดโดยเทศบาลตำบลวัดท่าสะอ้าน ร่วมกับโรงเรียนวัดท่าสะอ้าน  บูรณะสินอนุสรณ์ และองค์กรภาคธุรกิจ  กิจกรรมประกอบไปด้วย พิธีสวดขอพรให้แม่น้ำ กิจกรรมปล่อยปลา และกิจกรรมการอบรมให้ความรู้เรื่องการอนุรักษ์แม่น้ำบางปะกง ในวาระวันแม่น้ำคูคลองแห่งชาติ ให้แก่นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ และ ชั้นมัธยมศึกษาที่ปี ๑ -๓ ประมาณ ๑๐๐ คน

  

ร่วมฟังพระสวดและทำพิธีสืบชะตาสายน้ำ จากนั้นเดินทางไปที่ที่ท่าน้ำและช่วยกิจกรรมชุมชน

 

 

เดินทางพร้อมน้องๆ และครู ไปที่ท่าน้ำวัดท่าสะอ้าน เพื่อร่วมกิจกรรมปล่อยปลา

ขยายพันธ์สัตว์น้ำ เนื่องในวันอนุรักษ์และพัฒนาแม่น้ำ คู คลองแห่งชาติ

 

          

 

บรรยากาศการจัดกิจกรรมในโรงเรียนวัดท้าสะอ้าน

ช่วงบ่าย ย้อนรอยเส้นทางบางปะกงสายน้ำแห่งมังกร ย้อนรอยพื้นที่ชุมชนสายน้ำแห่งมังกร แวะชมสถานที่ สิ่งก่อสร้าง สิ่งมีชีวิตข้างลำน้ำและเฝ้ามองผู้คนข้างสายน้ำ

โปรแกรมการทำงานวันจันทร์ที่ ๑๙ กันยายน ๒๕๕๙

0๗.00๐๘.00 น.      เดินทางจากมหาวิทยาลัยบูรพา ไปยังอนุสรณ์สถานสถูปเจดีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

๐๘.๐๐ - ๑๒.๐๐  น.      ร่วมกิจกรรมวันแม่น้ำคูคลอง

ร่วมจัดกิจกรรมรณรงค์รักษาแม่น้ำ

จัดกระบวนการละครและแสดงละคร เรื่องบางปะกงสายน้ำแห่งมังกร

๑๒.๐๐ – ๑๓.๐๐ น.      พักรับประทานอาหารกลางวัน / ลงชุมชนวัดท่าสะอ้าน

๑๓.๐๐ - ๑๗.๐๐ น.       เดินทางย้อนรอยเส้นทาง บางปะกงสายน้ำแห่งมังกร

๑๗.๐๐ – ๑๘.๐๐ น.      รับประทานอาหารเย็น

 

 

รู้จัก “ต้นจาก” พืชในละคร และรู้จัก “สายน้ำบางปะกง ผ่านประสบการณ์ตรง”

“จะรู้จักและรักสายน้ำ – ต้องสัมผัสด้วยหัวใจ”

ด้วยการใช้เนื้อตัว-ร่างกาย ไปสัมผัส ถึงจะรู้สึก “รัก” (เรียนรู้ด้วยหัวใจ)

สายน้ำบางปะกงบริเวณวัดโสธร ส่วนหัวของลูกมังกร ตามตำนานของบางปะกงสายน้ำแห่งมังกร

ไหว้พระขอพรจากหลวงพ่อโสธร สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่สายน้ำบางปะกง

พระองค์สำคัญ ของคนไทยทั้งประเทศ

 

   

ท้องน้ำบริเวณวัดปากน้ำโจ้โล้ “หางของมังกรตัวเล็ก ตามตำนานที่ชาวบ้านเล่าสืบต่อกันมา”

 

   

บ่ายๆ แวะดู โน้นนี่ ดูน้ำ ดูวัด ดูสวน ดูสองข้างทาง ตลาด และสิ่งก่อสร้างที่มีเรื่องราว

ช่วงเย็นลงพื้นที่ ดูสถานที่จัดงาน ณ ชุมชนวัดสาวชะโงก

นั่งทบทวนว่าหลังจากลงพื้นที่และทำงาน - วันนี้เป็นอย่างไรบ้าง

 

จากการที่นิสิตได้ทำกิจกรรมร่วมกับคนในชุมชน ซึ่งเป็นประสบการณ์วันแรก หลายคนสะท้อนว่ากิจกรรมนี้ เป็นครั้งแรกที่ได้แสดงละครให้น้องๆ ประถมและมัธยม น้องๆ ตั้งใจดูกันมาก ทีมงานตื่นเต้น

บางคนสะท้อนว่าไม่เคยรู้จักแม่น้ำบางปะกงเลย ไม่คิดว่ายังมีต้นไม้และความเป็นธรรมชาติมากขนาดนี้ เคยเห็นแต่คลองที่เป็นปูนแถวกรุงเทพ หลายคนตั้งคำถามว่าธรรมชาติแบบนี้จะอยู่ได้อีกนานไหม

 

ช่วงกลางคืนได้มีโอกาสนอนในชุมชนสาวชะโงก เป็นบ้านในชุมชน ตั้งอยู่บริเวณใกล้โรงเจ บ้านนี้เป็นบ้านของพี่สาว “อาพร” ซึ่งอาพร ต้อนรับอย่างเป็นมิตร ใจเอื้อ และบอกกับพวกเราว่า “เราเปรียบเสมือนลูกหลาน” พวกเราได้นอนพักห้องรวม นอนด้วยกัน

“อาพรเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลสาวชะโงก เป็นคนพื้นถิ่นสาวชะโงกโดยกำเนิด เชื้อสายจีนฮกเกี้ยน อาพรเป็นภรรยาของ “อาหมอ” อาหมอเป็นรองนายกเทศมนตรี เทศบาลตำบลสาวชะโงก อายุ ๗๐ ปี แต่ยังคล่องแคล้วและทำงานชุมชนอย่างเต็มที่ พวกเราได้ฟังเรื่องเล่าต่างๆ ฟังที่มา ที่ไป ของชื่อชุมชน “ชุมชนสาวชะโงก” ที่มาจากเจ้าสาวที่ชะโงกดูเจ้าบ่าวแล้วผลัดตกจากบ้านและเสียชีวิต จนเป็นที่มาของชื่อชุมชนสาวชะโงก นอกจากนี้ยังได้ฟังประวัติท้องถิ่นเกี่ยวกับผู้คน ซึ่งชุมชนนี้เป็นชุมชนคนจีนดั้งเดิม คนที่นี่ส่วนใหญ่เป็นคนจีน เชื้อสายจีนฮกเกี้ยน ตั้งรกรากตั้งแต่อดีตเป็นชุมชนคนจีนริมน้ำ สถานที่สำคัญของที่นี่คือโรงเจ ตั้งติดสายน้ำบางปะกง เป็นโบราณสถาน ที่คนในชุมชนให้ความเคารพ