แนวทางการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้/การเขียนบทความวิชาการ
26 สิงหาคม พ.ศ. 2560 อาจารย์วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์ สำนักคอมพิวเตอร์ เปิดอ่านแล้ว 184 ครั้ง

การถอดบทเรียนจากกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้(KM)
ประเด็นความรู้ด้านการเรียนการสอน
ประเด็นความรู้
แนวทางการทวนสอบผลสัมฤทธิ์การเรียนรู้


การทวนสอบ (Verification)
               หมายถึง การตรวจสอบเพื่อยืนยันความถูกต้องของการจัดการเรียนการสอนว่ามีการ ดำเนินการและบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์หรือผลการเรียนรู้ที่กำหนดในรายวิชา และ curriculum mapping ที่กำหนดใน มคอ.2 จึงเป็นกระบวนการตรวจสอบเพื่อหาหลักฐานเพื่อยืนยัน หรือพิสูจน์ว่าผลการเรียนรู้ได้เกิดขึ้นกับผู้เรียนจริงอย่างที่ก-หนด
               ในการนี้สถาบันการศึกษาจะต้องกำหนดให้มีระบบและกลไกการทวนสอบเพื่อยืนยันว่า นิสิตและผู้สำเร็จการศึกษาทุกคนมีผลการเรียนรู้ทุกด้านตามที่กำหนดไว้ในมาตรฐานคุณวุฒิเป็นอย่าง น้อย โดยดำเนินการทั้งการทวนสอบระดับรายวิชาและระดับหลักสูตรและกำหนดให้เป็นส่วนหนึ่งของ การประกันคุณภาพภายในเพื่อมั่นใจได้ว่ามาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวังมีการดำเนินการจัดการ เรียนการสอนจนบรรลุผลสำเร็จ

ข้อความที่สำคัญที่เป็ นหลักฐานในการจัดให้มีการทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนิสิต
               1. มคอ 2 ใน หมวดที่ 2 หลักเกณฑ์ในการประเมินผลนิสิต ข้อที่ 2. กระบวนการทวนสอบ มาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนิสิต โดยเป็นการอธิบายกระบวนการที่ใช้ในการทวนสอบมาตรฐาน ผลสัมฤทธิ์ของนิสิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้แต่ละรายวิชา เช่น ทวนสอบจากคะแนนข้อสอบ หรือ งานที่มอบหมาย ซึ่งกระบวนการอาจจะต่างกันไปสำหรับรายวิชาที่แตกต่างกัน หรือสำหรับมาตรฐาน ผลการเรียนรู้แต่ละด้าน
               2. มคอ 3 หมวดที่ 7 การประเมินและปรับปรุงการดำเนินการของรายวิชา ข้อที่ 4. การ ทวนสอบมาตรฐานผลสัมฤทธิ์ของนิสิตในรายวิชา และข้อที่ 5. การดำเนินการทบทวนและการ วางแผนปรับปรุงประสิทธิผล
               3. มคอ 5 หมวดที่ 3 สรุปผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชาข้อที่ 7. การทวนสอบ ผลสัมฤทธิ์ของนิสิต โดยให้ผู้สอนระบุวิธีการทวนสอบ และสรุปผลการทวนสอบ
               4. มคอ.7 หมวดที่ 6 สรุปการประเมินหลักสูตร ข้อ 3 การประเมินคุณภาพหลักสูตรตาม กรอบมาตรฐานคุณวุฒิฯ ซึ่งระบุดัชนีบ่งชี้ผลการดำเนินงานข้อที่ 6 “มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของ นิสิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ใน มคอ.3 อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนใน แต่ละปีการศึกษา” และใน หมวดที่ 9 แผนการดำเนินการเพื่อพัฒนาหลักสูตร ข้อ 2 ข้อเสนอในการ พัฒนาหลักสูตร

ระดับของการทวนสอบผลสัมฤทธ์ิผลการเรียนรู้
               มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา ได้กำหนดให้มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนิสิต 2 ระดับ ได้แก่ การทวนสอบระดับรายวิชาและการทวนสอบระดับหลักสูตร
               1.การทวนสอบผลสัมฤทธ์ิผลการเรียนรู้ระดับรายวชิา เป็นการทวนสอบกระบวนการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลของรายวิชา เมื่อ สิ้นภาคการศึกษา โดยควรทวนสอบจาก 2 กระบวนการหลัก ดังนี้
                    1.1 การทวนสอบการจัดการเรียนการสอน ได้แก่ การทวนสอบความถูกต้อง เหมาะสมของแผนการสอน (มคอ.3) การทวนสอบความเหมาะสมของสาระวิชาที่บรรจุไว้ในแผนการ สอน ว่าหากสอนตามที่ระบุใน มคอ.3 จะทำให้บรรลุมาตรฐานผลการเรียนรู้จริง ควรมีหลักฐานแสดง อย่างเห็นได้ชัด เช่น การสัมภาษณ์ผู้เรียน การให้ผู้เรียนเขียนแสดงผลการเรียนรู้ และนามาเทียบกับ ผลที่ผู้สอนได้เก็บข้อมูลไว้ นั่นคือ การทวนสอบจึงเป็นการเก็บข้อมูล เพื่อนามาเป็นหลักฐานยืนยันว่า มาตรฐานผลการเรียนรู้เกิดได้จริง
                    1.2 การทวนสอบในการประเมินผล ได้แก่ การตรวจสอบการทำข้อสอบของผู้เรียน การวิเคราะห์ข้อสอบว่าสามารถวัดมาตรฐานผลการเรียนรู้ได้ตรงตามที่ระบุหรือไม่ เกณฑ์การให้ คะแนน การทวนสอบผลสัมฤทธิ์หรือคะแนนสอบ เพื่อให้มั่นใจว่าคะแนนและเกรดที่ผู้เรียนแต่ละคน ได้รับเป็นสิ่งที่เหมาะสม
               2. การทวนสอบผลสัมฤทธ์ิผลการเรียนรู้ระดับหลกัสูตร
               เป็นการทวนสอบในภาพรวมของการใช้หลักสูตร ซึ่งควรทำตลอดการใช้หลักสูตรเป็นระยะ เพื่อตรวจสอบการบริหารและดำเนินการของหลักสูตร ว่าได้ดำเนินการเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของ หลักสูตรและมาตรฐานผลการเรียนรู้ของหลักสูตรที่วางไว้หรือไม่ และรวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปใช้ใน การรายงานผลการใช้หลักสูตรเมื่อเสร็จสิ้นการใช้หลักสูตร สามารถทำได้โดย การประชุม คณะกรรมการบริหารหลักสูตรเป็นระยะ เพื่อรวบรวมข้อมูล ทบทวน ตรวจสอบผลการดำเนินการ ของหลักสูตร ควรเป็นการรวบรวมทุกปีการศึกษา และเมื่อครบเวลาการใช้หลักสูตร อาจารย์ประจำ หลักสูตรควรมีการทวนสอบหลักสูตรโดยการประเมินและรวบรวมผลจากผู้มีส่วนร่วมในการใช้ หลักสูตร ได้แก่ ผู้สอน ผู้เรียน บัณฑิต ผู้ใช้บัณฑิต และผู้ทรงคุณวุฒิโดยอาศัยเครื่องมือในการเก็บ ข้อมูล เช่น แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ การจัดประชุมการประเมินผลหลักสูตร เป็นต้น

ระบบและกลไกการทวนสอบผลสัมฤทธ์ิผลการเรียนรู้ของนิสิต
               ตามที่กรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติได้กำหนดให้หลักสูตรต้องมีการทวน สอบผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ของนิสิตจึงกำหนดให้ทุกหลักสูตรต้องรับการทวนสอบมาตรฐาน ผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ของนิสิตในรายวิชา จำนวนอย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ ละปีการศึกษา โดยจะต้องมีผลคะแนนการทวนสอบเฉลี่ยอยู่ในระดับดีขึ้นไป
               การทวนสอบผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ของนิสิตให้เป็นไปตามระบบและกลไก ดังนี้
               1. วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์แต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ระดับ รายวิชา ประจำปีการศึกษา ประกอบด้วย
                    1.1 ประธาน ได้แก่ คณบดีหรือรองคณบดีฝ่ายวิชาการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายให้เป็น ประธาน
                    1.2 กรรมการจากอาจารย์ประจำหลักสูตร
                    1.3 กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิภายนอกหลักสูตร
               ทั้งนี้ การแต่งตั้งคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ระดับรายวิชา ควรแต่งตั้ง ตั้งแต่ก่อนเริ่มปีการศึกษา โดยอาจแต่งตั้งได้หลายชุด จำนวนคณะกรรมการแต่ละชุดขึ้นกับความ เหมาะสมของจำนวนรายวิชาและภาระหน้าที่ และผู้สอนวิชานั้น จะไม่เป็นกรรมการทวนสอบ รายวิชาของตนเอง แต่เป็นผู้ให้ข้อมูลของรายวิชา
               2. คณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ระดับรายวิชากำหนดแนวทางการทวน สอบผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ระดับรายวิชา
               3. คณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ระดับรายวิชากำหนดปฏิทินการ ดำเนินงานทวนสอบผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ระดับรายวิชาประจำแต่ละภาคการศึกษา
               4. หลักสูตรส่งรายชื่อรายวิชาที่เปิดสอนในภาคการศึกษาต้น และภาคการศึกษาปลาย ประจำปีการศึกษานั้น ไปยังคณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ระดับรายวิชา
               5. คณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ระดับรายวิชากำหนดรายวิชาที่จะทวน สอบในแต่ละภาคการศึกษา จำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละ 25 ของรายวิชาในหลักสูตรที่เปิดสอนในแต่ละ ปีการศึกษา โดยจะดำเนินการทวนสอบให้ครบทุกรายวิชาในหลักสูตรตลอดระยะเวลาที่กำหนดของ หลักสูตร
               6. เมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษา คณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ระดับรายวิชา จะแจ้งรายชื่อรายวิชาที่จะทวนสอบไปยังหลักสูตร
               7. ผู้รับผิดชอบหลักสูตร/อาจารย์ประจำหลักสูตร ประสานงานกับอาจารย์ประจำรายวิชา ในการจัดเตรียมข้อมูล เอกสารที่จำเป็นสำหรับการทวนสอบฯ เช่น มคอ.3-6 ข้อสอบ ผลการเรียน รายงาน ชิ้นงาน เป็นต้น
               8. คณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ระดับรายวิชา ดำเนินการทวนสอบ ผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ระดับรายวิชาตามระยะเวลาที่กำหนดไว้ ซึ่งวิธีการทวนสอบ ขึ้นอยู่กับ บริบทและความเหมาะสมของรายวิชา เพื่อให้มั่นใจว่าการจัดการเรียนการสอนและการประเมินผลได้ ดำเนินการจนบรรลุมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง อย่างไรก็ตามคณะกรรมการทวนสอบ ผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ระดับรายวิชา ควรดำเนินการดังนี้
               9. ประเมินความสอดคล้องของรายละเอียดของรายวิชา (มคอ.3 หมวดที่ 4 การพัฒนาผล การเรียนรู้ของนิสิต ด้านมาตรฐานผลการเรียนรู้ วิธีการสอน วิธีการวัดและประเมินผล ตัวชี้วัด ความสำเร็จของผลการเรียนรู้ และหมวดที่ 5 แผนการสอนและการประเมินผล) กับรายละเอียดของ หลักสูตร (มคอ.2 หมวดที่ 4 ผลการเรียนรู้ กลยุทธ์การสอน และการประเมินผลและแผนที่แสดง การกระจายความรับผิดชอบมาตรฐานผลการเรียนรู้จากหลักสูตรสู่รายวิชา (Curriculum Mapping))
               10. สุ่มตรวจสอบกระบวนการจัดการเรียนการสอน จากผลการเรียนรู้ที่นิสิตได้รับจาก วิธีการจัดการเรียนการสอนที่ระบุไว้ใน มคอ.3 ของแต่ละรายวิชา
               11. สุ่มตรวจสอบการประเมินผล การให้คะแนนแต่ละส่วนตามที่ระบุในแผนการ ประเมินผลการเรียนรู้ใน มคอ.3 ของแต่ละรายวิชา โดยอาจพิจารณาจากการให้คะแนนจากรายงาน ผลงานจากการเรียนรู้ การประเมินพฤติกรรม แบบทดสอบ
               12. ใช้ข้อมูลจากการรายงานผลการดำเนินการของรายวิชา (มคอ.5) ที่อาจารย์ ผู้รับผิดชอบรายวิชาจัดทำเมื่อสิ้นสุดภาคการศึกษามาประกอบการทวนสอบ
               13. เมื่อการดำเนินการทวนสอบเสร็จสิ้น คณะกรรมการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ ระดับรายวิชา รายงานสรุปผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ระดับ รายวิชาไปยังอาจารย์ ประจำหลักสูตรและไปยังหลักสูตร เพื่อให้หลักสูตรนำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาและปรับปรุง รายวิชา และหลักสูตรแจ้งผลการทวนสอบไปยังอาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชาเพื่อให้ผู้รับผิดชอบ รายวิชานำไปใช้ในการวางแผนพัฒนาและปรับปรุงรายวิชาให้เป็นไปตามความคาดหวังของหลักสูตร

เอกสารประกอบการทวนสอบรายวิชา
               1. มคอ 2 หลักสูตรที่รายวิชาดำเนินการทวนสอบ
               2. มคอ 3 หรือ 4 ของรายวิชาที่ทำการทวนสอบ
               3. มคอ 5 หรือ 6 ของรายวิชาที่ทำการทวนสอบ (ถ้ามี เพื่อจะได้พิจารณาก่อนประเมินว่า ผู้สอนได้มีการปรับเปลี่ยน ผลการเรียนรู้ วิธีการสอน หรือการประเมินผลหรือไม่ รวมถึงเนื้อหาที่สอน หรือไม่ และผลการเรียนของผู้เรียนเป็นอย่างไร หากไม่มีกรรมการอาจถามผู้สอนก่อนว่าได้ดำเนินการ สอนตาม มคอ 3 หรือไม่ )
               4. ข้อสอบ ผลงาน รายงาน หรือชิ้นงานต่าง ๆ ที่รายวิชาประเมินผลการเรียนรู้ของผู้เรียน

วิธีการทวนสอบรายวิชา
               1. ประเมินความสอดคล้องของผลการเรียนรู้ของรายวิชาใน มคอ.3 กับ ผลการเรียนรู้ของ หลักสูตร หรือ curriculum mapping ว่า ผลการเรียนรู้ที่กำหนดไว้ใน มคอ.3 ครอบคลุมครบถ้วน และตรงตามที่ curriculum mapping ได้กำหนดหรือกระจายความรับผิดชอบให้หรือไม่ หมายเหตุ : ดูกระบวนการว่าเมื่อตั้งเป้าหมายไว้แล้ว ได้กำหนดวิธีการเรียนรู้ และการวัดผล เหมาะสม ไหม และประเมินจริงมีความตรง และความเที่ยงอย่างไรและดูผลการเรียนรู้ จาก มคอ.5
               2. สุ่มชิ้นงานที่ระบุไว้ในแผนการสอน หรือสรุปการประเมินผลตรวจการให้คะแนนจาก กระดาษคาตอบข้อสอบของนิสิตการสอบปากเปล่า คะแนนพฤติกรรมหรือจริยธรรม คะแนน โครงการ คะแนนรายงาน คะแนนนาเสนอ เพื่อทวนสอบการประเมินผลการเรียนรู้ และผลการเรียนรู้ ของผู้เรียน
               3. สุ่มสัมภาษณ์นิสิต
               4. สัมภาษณ์อาจารย์ผู้สอน

การนำผลการทวนสอบผลสัมฤทธ์ิผลการเรียนรู้ของนิสิตไปใช้ในกระบวนการดำเนินงานของ หลกัสูตร
               เมื่อผู้เกี่ยวข้องได้รับผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ของนิสิตแล้ว ต้องมีการ ดำเนินการ ดังนี้
               1. อาจารย์ผู้รับผิดชอบรายวิชา นำผลผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ของรายวิชา ไปรายงานใน มคอ.5 หมวดที่ 3 สรุปผลการจัดการเรียนการสอนของรายวิชา ข้อ 7. การทวน สอบผลสัมฤทธิ์ของนิสิต และนำไปวางแผนพัฒนาและปรับปรุงรายวิชาให้เป็นไปตามความ คาดหวังของหลักสูตร
               2. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตรนำผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ของรายวิชา ของหลักสูตรไปเป็นข้อมูลประกอบการรายงานใน มคอ.7 หมวดที่ 6 สรุปการประเมินหลักสูตร ข้อ 3 การประเมินคุณภาพหลักสูตรตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 ตัวบ่งชี้ที่ 6 มีการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ของนิสิตตามมาตรฐานผลการเรียนรู้ที่ กำหนดใน มคอ.3 อย่างน้อยร้อยละ 25 ของรายวิชาที่เปิดสอนในแต่ละปี การศึกษา
               3. อาจารย์ผู้รับผิดชอบหลักสูตร/อาจารย์ประจำหลักสูตร นำผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ ผลการเรียนรู้ของรายวิชาของหลักสูตร เป็นข้อมูลประกอบการให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนา หลักสูตร ในมคอ.7 หมวดที่ 9 แผนดำเนินการเพื่อพัฒนาหลักสูตร ข้อ 2 ข้อเสนอในการ พัฒนาหลักสูตร
               4. อาจารย์ประจำหลักสูตร นำผลการทวนสอบผลสัมฤทธิ์ผลการเรียนรู้ของรายวิชาของ หลักสูตร ไปเป็นข้อมูลในการวางแผนการพัฒนาและปรับปรุงหลักสูตร (รายละเอียดดังเอกสารแนบ)