บิ๊กดาต้า (Big Data)
9 เมษายน พ.ศ. 2557 Jirapa Sujiranutham สำนักคอมพิวเตอร์ เปิดอ่านแล้ว 3 ครั้ง

ปัจจุบันปริมาณข้อมูลที่เกิดจากการทำงานประจำวัน รวมทั้งข้อมูลที่ได้จากสื่อออนไลน์ผ่านเครือข่ายสังคมมีปริมาณมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีข้อมูลจำนวนมากที่มีขนาดใหญ่เกินกว่าที่อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลจะสามารถจัดการได้หากไม่มีการวางแผนและการบริหารจัดการที่ดี่ (พนิดา ตันศิริ, 2556) บิ๊กดาต้า หมายถึง ปริมาณข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มหาศาลเกินกว่าขีดความสามารถในการประมวลผลของระบบฐานข้อมูลธรรมดาที่จะรองรับได้ ปริมาณข้อมูลที่มีขนาดใหญ่มาก ๆ จะมี อัตราการเพิ่มข้อมูลได้อย่างรวดเร็วมากและจะมีรูปแบบที่ไม่มีโครงสร้างหรือกึ่งโครงสร้างซึ่งไม่สามารถอยู่ในระบบฐานข้อมูลที่จะจัดเก็บข้อมูลได้ (Dumbill, 2012) คุณลักษณะของ Big Data มี ๓ ประการ (สุกิจ คูชัยสิทธิ์ม, 2556) 1.ปริมาตร (Volume) หมายถึงขัอมูลที่มีปริมาณมหาศาล ซึ่งโครงสร้างข้อมูลของระบบฐานข้อมูลไม่สามารถจัดเก็บข้อมูลได้ 2.ความเร็ว (Velocity) หมายถึง อัตราการเพิ่มขึ้นของข้อมูล ข้อมูลที่เข้าสู่ระบบฐานข้อมูลจะมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น ข้อมูลจากโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ผู้ใช้นำขึ้นเก็บเป็นข้อมูลภาพถ่าย ข้อมูลการพิมพ์การสนทนา ข้อมูลการอัดภาพ วิดีโอ หรือข้อมูลอัดเสียง ข้อมูลการสั่งซื้อสินค้า การขนส่ง การบริการต่าง ๆ 3.​​รูปแบบที่หลากหลาย (Variety) หมายถึง มีความหลากหลายของรูปแบบข้อมูล ซึ่งอาจจะเป็นรูปแบบที่มีโครงสร้าง ไม่มีโครงสร้าง และกึ่งมีโครงสร้าง เป็นต้น ปัจจัยในการนำข้อมูล Big Data มาใช้ได้ มี 2 ปัจจัย คือ Cloud Computing ที่จะใช้ในการจัดเก็บ แยกแยะ และวิเคราะห์ผลออกมา และซอฟแวร์ในการจัดการที่เหมาะสมด้วย อีกหนึ่งปัจจัยคือ Data Scientist หรือ นักวิเคราะห์ข้อมูล ซึ่งจะวิเคราะห์ Big Data เพื่อให้ทราบพฤติกรรมและความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภค เพื่อให้สามารถพัฒนาสินค้าและบริการให้ตอบสนองตามความต้องการที่หลากหลายของผู้บริโภคได้อย่างตรงจุดและเกิดประโยชน์สูงสุด การเสื่อมถอยลงของภาคการศึกษาไม่ได้มีแต่ในเฉพาะประเทศไทยนั้น ในสหรัฐอเมริกาก็ประสบปัญหานี้เช่นเดียวกัน ซึ่งกระทรวงศึกษาของสหรัฐฯ ได้นำเทคโนโลยีและจิตวิญญาณ เข้ามาช่วยกำจัดจุดอ่อนในภาคการศึกษา เรียกว่า MyData Initiative เพื่อให้นักเรียน ผู้ปกครอง คุณครู และโรงเรียนได้ใช้ประโยชน์จากข้อมูลการศึกษาได้อย่างเต็มที่มากขึ้น และทำให้เจ้าของข้อมูลเห็นข้อมูลของตัวเองได้รวดเร็วขึ้นและสามารถดาวน์โหลดเก็บไว้หรือให้บริษัทเอกชน และ apps ต่าง ๆ มาประมวลผลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อแนะนำแนวทางการศึกษาต่อไป ซึ่งจุดมุ่งหมายประการหนึ่ง คือ ทำให้ข้อมูลทั้งหมดที่กระจัดกระจายอยู่ทุกที่ ไม่ว่าจะเป็นโรงเรียน ศูนย์กวดวิชา หรือศูนย์สอบ อยู่ในรูปแบบมาตรฐานเดียวกัน ซึ่งเป็นอนาคตของ Big Data ที่จะต้องทำให้นักเรียนได้รับคำแนะนำที่เฉพาะเจาะจงกับตัวเอง และเป็นการแนะแนวเด็กให้ไปถึงอาชีพในฝันได้ เช่น เด็กอยากเป็นหมอฟัน บริษัทจะวิเคราะห์ข้อมูลหลักเพื่อดูว่ามีหมอฟันเก่ง ๆ ที่ในอดีตมีลักษณะคล้ายกับเด็กคนนี้หรือไม่ ตัวอย่างของประเทศไทยที่มีการนำ Big Data มาใช้ คือ โรงพยาบาลกรุงเทพ ที่มีสาขาทั่วประเทศไทยทั้งหมด 29 แห่ง ซึ่งโรงพยาบาลได้ใช้ระบบ HIS (Hospital Information System) ของ IBM ในการเชื่อมโยงระบบเวชระเบียนของทั้ง 29 แห่งนั้นเข้าด้วยกัน ผลที่ได้ก็คือ ข้อมูลของผู้ป่วยทั้งหมด จะถูกจัดเก็บ และสามารถดึงไปใช้งานได้ทั้ง 29 สาขา ดังนั้นไม่ว่าผู้ป่วยจะเข้ามารักษาที่สาขาไหนก็จะมีประวัติตัวเองตามไปด้วยตลอดเวลา ส่วนผู้บริหารโรงพยาบาลสามารถดูข้อมูลของผู้ป่วยทั้งหมดได้ ทำให้สามารถประเมินได้ว่า ปัจจุบัน มีผู้ป่วยเข้ามารักษที่โรงพยาบาลด้วยอาการอะไรมากที่สุด จะได้สามารถรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงแบบฉับพลันได้ทัน รวมไปถึงสามารถออกบริการใหม่ๆ หรือ โปรโมชั่นต่างๆ เพื่อขยายรูปแบบธุรกิจของโรงพยาบาลได้อีก