การแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อพัฒนาเกี่ยวกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของคณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
29 ตุลาคม พ.ศ. 2558 คณะกรรมการจัดการความรู้ สำนักคอมพิวเตอร์ เปิดอ่านแล้ว 1 ครั้ง

การถอดความรู้และประสบการณ์

จากการส่งนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพในสาขาวิชาวิชาต่าง ๆ ของคณะสาธารณสุขศาสตร์

 

ผู้เข้าร่วมการถอดความรู้ ฯ

          ตัวแทนจากภาควิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม

          ตัวแทนจากภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ 

          ตัวแทนจากภาควิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย

          ตัวแทนจากภาควิชาพื้นฐานสาธารณสุข

 

หน่วยงานที่ทำการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของแต่ละสาขาวิชา ได้มีวัตถุประสงค์และรายละเอียดของงานที่ แตกต่างกันตามหลักสูตรและกิจการงานที่ต้องไปประกอบอาชีพเมื่อจบการศึกษา ซึ่งสามารถจำแนกลักษณะ ของหน่วยงานที่ฝึกได้ ดังต่อไปนี้

ภาควิชาอนามัยสิ่งแวดล้อม ได้ทำการส่งนิสิตเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพในหน่วยงาน องค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น หน่วยราชการสิ่งแวดล้อมส่วนภูมิภาค บริษัทที่ปรึกษาสิ่งแวดล้อม และโรงงาน อุตสาหกรรม โดยเข้าฝึกในหน่วยงานย่อยที่ดำเนินการด้านสิ่งแวดล้อมในหน่วยงานที่เข้าฝึกประสบการณ์ วิชาชีพเป็นหลัก

ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ ได้ทำการส่งนิสิตเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพในหน่วยงาน โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส านักงานสาธารณสุขจังหวัด โดยเข้า ฝึกในหน่วยงานย่อยที่ดำเนินการส่งเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในหน่วยงานที่เข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพ เป็นหลัก

ภาควิชาสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัยได้ทำการส่งนิสิตเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพใน โรงงานอุตสาหกรรมและหน่วยประกอบการด้านอุตสาหกรรมเป็นหลัก โดยเข้าฝึกในหน่วยงานย่อยที่ ดำเนินการด้านความปลอดภัย และสิ่งแวดล้อมในการท างานของหน่วยงานที่เข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพเป็น หลัก

ภาควิชาพื้นฐานสาธารณสุข ได้ทำการส่งนิสิตเข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพในหน่วยงาน โรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ส านักงานป้องกันและควบคุมโรค โดยเข้าฝึกในหน่วยงานย่อยที่ดำเนินการด้าน สุขภาพอนามัยชุมชน และการป้องกันโรคในพื้นที่ของชุมชนของหน่วยงานที่เข้าฝึกประสบการณ์วิชาชีพเป็น หลัก


ลักษณะงานที่ทำการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

นิสิตในสาขาวิชาเอกอนามัยสิ่งแวดล้อมได้ฝึกปฏิบัติงานในงานด้านอนามัยสิ่งแวดล้อมและสิ่งแวดล้อมตามภารกิจหลักของหน่วยงาน เช่น งานสุขาภิบาลสิ่งแวดล้อม งานตรวจวัดและเฝ้าระวังสิ่งแวดล้อม งานห้องปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม การวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม การจัดการสิ่งแวดล้อมในนิคมอุตสาหกรรมการจัดการของเสียในโรงงาน ฯ

นิสิตในสาขาวิชาเอกวิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ ได้ฝึกปฏิบัติงานในงานด้านสุขศึกษา และการส่งเสริมสุขภาพตามภารกิจหลักของหน่วยงาน เช่น การดูแล เฝ้าระวังสุขภาพ ตลอดจนการส่งเสริมสุขภาพของประชาชนในพื้นที่การบริหารและการบริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล

นิสิตในสาขาวิชาเอกสุขศาสตร์อุตสาหกรรมและความปลอดภัย ได้ฝึกปฏิบัติงานในการดูแล เฝ้าระวังความปลอดภัยและปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมในการท างานในโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนการดูแล และส่งเสริมสุขภาพของแรงงานในโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนการติดตามตรวจสอบผลกระทบสิ่งแวดล้อมจากโรงงานอุตสาหกรรม

นิสิตในสาขาวิชาเอกการจัดการสุขภาพ ได้ฝึกปฏิบัติงานในงานด้านการจัดการสุขภาพตามภารกิจหลักของหน่วยงาน เช่น การวางแผนการจัดการสุขภาพและสิ่งแวดล้อม การป้องกันโรค และการพัฒนาสุขภาพของประชาชนในพื้นที่การบริหารและการบริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล

 


ข้อสังเกตเกี่ยวกับหน่วยงานที่เข้าทำการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

- ลักษณะงานที่ปฏิบัติ กลวิธีดำเนินการ หน่วยงานที่ฝึกปฏิบัติการ ลักษณะพื้นที่ที่ปฏิบัติงาน

ตลอดจนความรู้ทางวิชาการของแต่ละสาขาวิชาเอกมีความแตกต่างกัน แต่มีเป้าหมายในการดำเนินการที่เหมือนกัน คือ การดูแลส่งเสริมสุขภาพของประชาชน

- ลักษณะงานที่ปฏิบัติ กลวิธีดำเนินการ หน่วยงานที่ฝึกปฏิบัติการ ลักษณะพื้นที่ที่ปฏิบัติงาน

ความรู้ทางวิชาการ ตลอดจนกิจกรรมอื่น ๆ ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของแต่ละสาขาวิชาเอกมีส่วนที่เหลื่อมซ้อมกันบ้างในบางส่วนที่อาจต้องใช้ความรู้ทางวิชาการบางประการที่ข้ามสาขาวิชาเอกมาดำเนินการหรือใช้ทักษะทางวิชาการพื้นฐานที่ร่วมกันของทุกสาขาวิชาเอกมาใช้ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพให้เกิดประสิทธิภาพ และผลสัมฤทธิ์มากยิ่งขึ้น

- ความรู้และทักษะทางวิชาชีพในสาขาวิชาเอกของนิสิตมีความสำคัญและความจำเป็นอย่างยิ่งกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามลักษณะของงานที่ฝึกและภารกิจของหน่วยงานที่เข้ารับการฝึกประสบการณ์ ซึ่งนิสิตจำเป็นต้องได้รับการสร้างเสริมหรือพัฒนาจากการการเรียนการสอนของรายวิชาในหลักสูตรสาขาวิชาเอกได้อย่างเต็มที่

- ทักษะต่าง ๆ จากการทำกิจกรรมของนิสิตในคณะสาธารณสุขศาสตร์ได้มีความจำเป็นต่อการทำกิจกรรมอื่น ๆ ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของแต่ละสาขาวิชาเอกซึ่งอาจไม่ใช่กิจการโดยตรงของหน่วยงานแต่ก็ได้สนับสนุนภารกิจของหน่วยงานที่ฝึกประสบการณ์วิชาชีพได้

- บุคลิกภาพ อุปนิสัย และพฤติกรรมส่วนบุคคลของนิสิตที่มีความกระตือรือร้น มีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดีตลอดจนมีจิตใจแห่งการบริการต่อบุคลากรของหน่วยงานและประชาชนที่ต้องเข้าฝึก มีส่วนสำคัญอย่างยิ่งในการดำเนินกิจกรรมการฝึกประสบการณ์ตามหน้าที่และภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานให้ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะงานที่ต้องดำเนินการกับประชาชนในพื้นที่รับผิดชอบของหน่วยงาน


ปัญหา อุปสรรคในภาพรวมของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนิสิต

- นิสิตส่วนใหญ่ยังขาดความทักษะในการประยุกต์ และดัดแปลงความรู้ทางวิชาการจากรายวิชาต่าง ๆ ในหลักสูตรที่ศึกษามาใช้ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพตามหน้าที่และภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงาน ทั้งนี้ เนื่องจากยังขาดประสบการณ์ในการทำงานจริง ซึ่งจำเป็นที่จะต้องอาศัยการให้คำปรึกษาจากอาจารย์ ผู้ดำเนินการนิเทศงานในสาขาวิชาเอกอย่างเต็มที่

- การสื่อสารระหว่างบุคลากรในหน่วยงานที่เป็นอาจารย์พี่เลี้ยงกับนิสิต และการสื่อสารระหว่างอาจารย์นิเทศก์การฝึกประสบการณ์วิชาชีพ ถ้าหากมีการดำเนินการที่ดี มีความสอดคล้องและรัดกุมกับลักษณะงานกับภารกิจที่ได้รับมอบหมายจากหน่วยงานก็จะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการอำนวยผลสำเร็จของการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในทุกสาขาวิชาเอก แต่ถ้าหากดำเนินการได้ไม่ดีหรือ ไม่รัดกุมก่อให้เกิดการการสื่อสารที่ไม่ดีแล้วจะเป็นปัจจัยสำคัญอย่างยิ่งในการขัดขวางการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในทุกสาขาวิชาเอกให้เกิดปัญหา อุปสรรคหรือถึงขั้นล้มเหลวได้

- การใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุต่าง ๆ ในการตรวจวัด วิเคราะห์ทางด้านวิทยาศาสตร์ของภาควิชาในสาขาวิชาเอกที่นิสิตสังกัดอยู่ก็นับเป็นปัญหา อุปสรรคที่สำคัญประการหนึ่งที่ทำให้กิจกรรมการฝึกประสบการณ์วิชาชีพไม่ประสบผลสำเร็จ และไม่มีประสิทธิภาพตามที่ควร ทั้งนี้ ด้วยข้อจำกัดเกี่ยวกับระบบระเบียบการน าออกใช้งาน และค่าใช้จ่ายบางอย่างที่เกิดจากการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์ และวัสดุในการใช้งาน

- การอำนวยการในเรื่องของความสะดวกในการพักอาศัย การเดินทาง ตลอดจนสวัสดิภาพของนิสิตในระหว่างการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เกิดอุบัติเหตุหรือการเจ็บป่วยในนิสิตที่ต้องไปฝึกประสบการณ์ในพื้นที่ห่างไกล นับเป็นเรื่องสำคัญที่จะช่วยให้นิสิตเกิดความสะดวก สบายใจ มั่นใจและมีกำลังใจ ความคิด และสติปัญญาในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพได้อย่างเข้มแข็ง กระตือรือร้น เกิดผลงานที่ประสบความสำเร็จและมีประสิทธิภาพได้เป็นอย่างดี


ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนาการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ

- ควรมีการสร้างเสริมทักษะในการประยุกต์ ดัดแปลงความรู้วิชาการในสาขาวิชาเอกของนิสิตเพื่อใช้ในการปฏิบัติงานจริงในพื้นที่และสถานการณ์จริงเพื่อใช้ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดสัมฤทธิ์ผลที่เป็นประโยชน์ทั้งต่อหน่วยงานและต่อตัวนิสิต

- ควรมีการส่งเสริมให้เกิดการบูรณาการความรู้ทางวิชาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของแต่ละสาขาวิชาที่แตกต่างกัน แต่สามารถเกื้อหนุนกันให้แก่นิสิตในสาขาวิชาเอกที่ต่างกันเพื่อให้เกิดความรู้ ความเข้าใจ ความชำนาญ และทักษะทางวิชาการเพื่อนำไปใช้ในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

- ควรแก้ไขและปรับปรุงระบบระเบียบการใช้อุปกรณ์ เครื่องมือ และวัสดุต่าง ๆ ในการปฏิบัติงานในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพในภาพรวมของคณะเพื่ออำนวยความสะดวกในการฝึกประสบการณ์วิชาชีพได้อย่างเกิดประสิทธิภาพและประโยชน์ของนิสิตและหน่วยงาน

- ควรมีการสนับสนุนด้านทรัพยากรแก่หน่วยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ คือสนับสนุนนิสิตในด้านการพักอาศัย การเดินทาง และการปฏิบัติการฝึกประสบการณ์ได้อย่างสะดวก การสนับสนุนหน่วยงานที่รับฝึกประสบการณ์วิชาชีพในด้านค่าตอบแทน การยกย่องแก่บุคลากรของหน่วยงานที่เป็นอาจารย์พี่เลี้ยงของนิสิต ตลอดจนค่าใช้จ่ายบางประการที่เกิดจากการฝึกประสบการณ์ของหน่วยงาน และการสนับสนุนค่าใช้จ่ายบางอย่างที่จำเป็นนอกเหนือจากทั่วไปแก่อาจารย์ที่ปฏิบัติหน้าที่เป็นอาจารย์นิเทศก์งานการฝึกประสบการณ์วิชาชีพของนิสิตในสาขาวิชาเอก