ผู้ขอรับใบอนุญาติใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
27 กรกฏาคม พ.ศ. 2559 อาจารย์ ทนพ.ดร.วรโชติ บุญศรีวงศ์ คณะเภสัชศาสตร์ เปิดอ่านแล้ว 4 ครั้ง

The Council of International Organization of Medical Sciences (CIOMS) โดยยูเนสโก ประกาศให้มี International Guiding Principles for Biomedical Research Involving Animals ขึ้นในปี พ.. 2528 โดยมีเนื้อหาที่จัดได้ว่าเป็นต้นแบบของมาตรฐานสากลในการเลี้ยงและใช้สัตว์ในงานวิจัย งานทดสอบ งานผลิตชีววัตถุ และถูกนำมาใช้เป็นหลักในการจัดทำแนวทางปฏิบัติ (Guidelines) หรือ จรรยาบรรณ (Ethics) ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้

1.       การใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ต้องมีเหตุผลที่แสดงได้ว่า เป็นการศึกษาที่จะนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้ใหม่ หรือนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพชีวิต เมื่อไม่มีทางเลือกอื่นทีดีกว่าหรือดีเท่า

2.       การใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ต้องเลือกชนิดสัตว์ที่มีคุณภาพพันธุกรรม สุขภาพ และมีคุณสมบัติทางเพศ อายุ น้ำหนัก เหมาะสมกับวัตถุประสงค์ของงานวิจัย ในจำนวนที่น้อยที่สุดเท่าที่หลักสถิติยอมรับในความแม่นยำ

3.       การใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ต้องเลี้ยงสัตว์ให้ได้อยู่ดี กินดี สัตว์ต้องได้รับการป้องกันการติดเชื้อ และการจัดสภาพแวดล้อมที่นำไปสู่การมีสุขภาพแข็งแรง ไม่เครียด และไม่ติดเชื้อ

4.       การใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ต้องมีการปฏิบัติกับสัตว์โดยไม่สร้างความกดดัน ความเจ็บปวด และความเครียดแก่สัตว์ วิธีการปฏิบัติที่สร้างความเจ็บปวดให้กับสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ต้องมีวิธีการที่จะบรรเทาความเจ็บปวดที่เป็ นที่ยอมรับในวงการสัตวแพทย์ กรณีที่มีการผ่าตัดสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ต้องวางยาสลบทุกครั้ง โดยต้องระบุรายละเอียดวิธีการระงับความเจ็บปวดไว้ในโครงการอย่างชัดเจนและสามารถตรวจสอบได้

5.       เมื่อสิ้นสุดการทดลอง หรือเมื่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ป่วยหรือได้รับบาดเจ็บจนไม่สามารถรักษาได้ ต้องจัดการให้สัตว์ตายอย่างสงบ

6.       สถาบันหรือหน่วยงานใดที่มีการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ต้องมีคณะกรรมการเพื่อกำกับดูแลการเลี้ยงและการใช้สัตว์ให้เป็นไปตามจรรยาบรรณการใช้สัตว์ และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสัตว์และมีสัตวแพทย์ที่มีความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ทางด้านวิทยาศาสตร์สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ เป็นผู้ดูแลรับผิดชอบหน่วยเลี้ยงสัตว์

7.       ผู้ใช้สัตว์เพืjองานทางวิทยาศาสตร์ต้องเสนอโครงการให้คณะกรรมการกำกับและดูแลการเลี้ยงและการใช้สัตว์ของหน่วยงานหรือสถาบันนั้น พิจารณาอนุมัติก่อนดำเนินการ การเปลี่ยนแปลงในส่วนใดของโครงการก็ตามต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการก่อนทุกครั้ง และในกรณีที่ผู้ใช้สัตว์เป็นกรรมการในคณะกรรมการกำกับและดูแลฯ ผู้ใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ต้องไม่มีส่วนร่วมในการพิจารณาโครงการของตน

8.       คณะกรรมการกำกับและดูแลการเลี้ยงและการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ของหน่วยงานหรือสถาบัน ต้องกำหนดมาตรฐานวิธีการปฏิบัติ (Standard Operation Procedures, SOPs) ในการเลี้ยงสัตว์ การใช้สัตว์ และการให้บริการแก่ผู้ใช้สัตว์ให้สอดคล้องกับจรรยาบรรณการใช้สัตว์และกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสัตว์

 

แหล่งผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์

          สัตว์ที่ถูกนำมาใช้ในงานวิจัยมีหลากหลายชนิด หลายสายพันธุ์ ตั้งแต่สัตว์ที่ไม่มีกระดูกสันหลังไปจนถึงสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เลี้ยงลูกด้วยนม ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติทางพันธุกรรมของสัตว์ ลักษณะของงานวิจัย วัตถุประสงค์ และเป้าหมายของงาน สำหรับสัตว์ที่ถูกนำมาใช้ในงานทดสอบหรืองานผลิตชีววัตถุต้องเป็นสัตว์ที่มีการวิจัยและได้ผลงานยืนยันมาแล้วชัดเจนว่าเหมาะสมที่จะนำมาใช้เพื่อการนั้น เพื่อให้ได้ผลตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ต้องการทดสอบ หรือผลิตชีววัตถุที่ต้องการจะผลิต ดังนั้นชนิดและสายพันธุ์สัตว์ที่ถูกนำมาใช้ในงานผลิตชีววัตถุ และงานทดสอบจึงไม่หลากหลายเหมือนเช่นในงานวิจัย

 

          เพื่อให้งานวิจัยได้ผลถูกต้อง แม่นยำ และไม่มีตัวแปร ที่จะมีผลต่อผลงานวิจัย นักวิจัยต้องการสัตว์เพื่อ

งานทางวิทยาศาสตร์ที่มีคุณสมบัติทางพันธุกรรมที่คงที่ มีเพศ อายุ น้ำหนัก และมีสุขภาพแข็งแรง เหมือนเดิมทุกครั้งที่ใช้สัตว์ในงานเดียวกัน และมีปริมาณที่เพียงพอต่อการใช้ในแต่ละครั้งเพื่อจะได้นำไปสู่ผลงานที่ถูกต้องแม่นยำตามหลักสถิติอีกด้วย ดังนั้น งานวิจัย งานทดสอบ งานผลิตชีววัตถุ และงานสอนใดๆ ก็ตามที่ใช้สัตว์ และต้องการผลงานที่แม่นยำและเป็นที่ยอมรับของสากล จำเป็นต้องใช้สัตว์จากแหล่งผลิตสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ที่สามารถให้บริการสัตว์ตามข้อกำหนดดังกล่าวได้อย่างต่อเนื่อง

          การผลิตสัตว์ที่ได้มาตรฐานคุณภาพเพื่อบริการสำหรับงานทางวิทยาศาสตร์ ต้องมีการเลี้ยงด้วยระบบ

อนามัยเข้ม (Strict Hygienic Conventional หรือ Clean Conventional) และ/หรือระบบปลอดเชื้อจำเพาะ (Specified Pathogen Free) และ/หรือ ระบบปลอดเชื้อสมบูรณ์ (Germ Free) โดยต้องมี

1.       หลักฐานการตรวจสอบสุขภาพและความปลอดเชื้อ (Health and Microbial monitoring) อย่างต่อเนื่อง

2.       หลักฐานการสืบสายพันธุ์สัตว์ ด้วยวิธีการสืบสายพันธุ์สัตว์ outbred, inbred หรือ mutant ให้ได้สายพันธุ์สัตว์ที่คงที่

3.       หลักฐานการตรวจสอบพันธุกรรม (Genetic Monitoring) อย่างต่อเนื่องทุกรุ่นของการสืบสายพันธุ์

4.       การจัดการเพาะขยายพันธุ์สัตว์ให้ได้เพศ อายุ น้ำหนัก และจำนวนตามที่ผู้ใช้ต้องการ โดยไม่ให้เกิดการ

สูญพันธุ์ หรือการเสียคุณภาพพันธุกรรม

 

จรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ สภาวิจัยแห่งชาติ
          ในปัจจุบัน วิทยาการด้านวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยก้าวหน้าไปอย่างไม่หยุดยั้ง มีผู้ใช้สัตว์ในงานวิจัย งานทดสอบ งานสอน และงานผลิตชีววัตถุเป็นจำนวนมากเช่นเดียวกับในต่างประเทศ ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานดังกล่าวของประเทศไทยมีมาตรฐานในระดับสากล สภาวิจัยแห่งชาติจึงเห็นควรกำหนด “จรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์" ขึ้น เพื่อให้นักวิจัยและนักวิชาการได้ใช้เป็นแนวทางปฏิบัติ ในการใช้สัตว์อย่างถูกต้อง เหมาะสม และเป็นผลดีต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และสัตว์อย่างแท้จริง

 

นิยาม

          จรรยาบรรณหมายถึงหลักความประพฤติอันเหมาะสม แสดงถึงคุณธรรมและจริยธรรมในการประกอบอาชีพ ที่กลุ่มบุคคล แต่ละสาขาวิชาชีพประมวลขึ้นไว้เป็นหลัก เพื่อให้สมาชิกในสาขาวิชาชีพนั้นๆ ยึดถือปฏิบัติ เพื่อรักษาชื่อเสียง และส่งเสริมเกียรติคุณ ของสาขาวิชาชีพของตน

          “สัตว์หมายถึง สัตว์ที่มีกระดูกสันหลังทุกชนิด รวมถึง สัตว์ทดลอง สัตว์ป่า

สัตว์ทดลองหมายถึง สัตว์ที่ถูกนำมาเพาะเลี้ยงในที่กักขัง สามารถสืบสายพันธุ์ได้ซึ่งมนุษย์นำมาใช้เพื่อประโยชน์ ในเชิง           วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกสาขา

สัตว์ป่าหมายถึง สัตว์ทุกชนิดที่เกิดหรือดำรงชีวิตอยู่ในป่าตามธรรมชาติ

ผู้ใช้สัตว์หมายถึงผู้ใช้สัตว์ในงานวิจัย งานทดสอบ งานสอน และงานผลิตชีววัตถุในเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกสาขา

องค์การหมายถึง สถาบันการศึกษาทุกระดับ หน่วยงานราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานเอกชน และ องค์กรต่าง ๆ

“จรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์” หมายถึงหลักเกณฑ์ที่ผู้ใช้สัตว์และผู้เลี้ยงสัตว์เพื่องานวิจัย งานทดสอบ งานผลิตชีววัตถุ เพื่องานทางวิทยาศาสตร์และงานสอนในเชิงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทุกสาขายึดถือปฏิบัติ เพื่อให้การดำเนินงานตั้งอยู่บนพื้นฐานของจริยธรรม คุณธรรม มนุษยธรรม และหลักวิชาการที่เหมาะสม ตลอดจนเป็นมาตรฐานการดำเนินงานที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วกัน

 

จรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์

1.      ผู้ใช้สัตว์ต้องตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตสัตว์

          ผู้ใช้สัตว์ต้องใช้สัตว์เฉพาะกรณีที่ได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าเป็นประโยชน์และจำเป็นสูงสุด ต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และสัตว์และ/หรือความก้าวหน้าทางวิชาการ และได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าไม่มีวิธีการอื่นที่เหมาะสมเท่าหรือเหมาะสมกว่า

2.      ผู้ใช้สัตว์ต้องตระหนักถึงความแม่นยำของผลงานโดยใช้สัตว์จำนวนน้อยที่สุด

ผู้ใช้สัตว์จะต้องคำนึงถึงคุณสมบัติทางพันธุกรรมและคุณสมบัติทางสุขภาพของสัตว์ที่จะนำมาใช้ ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการใช้สัตว์ เพื่อให้มีการใช้สัตว์จำนวนที่น้อยที่สุดและได้รับ ผลงานที่ถูกต้องแม่นยำมากที่สุด

3.      การใช้สัตว์ป่าต้องไม่ขัดต่อกฎหมายและนโยบายการอนุรักษ์สัตว์ป่า

          การนำสัตว์ป่ามาใช้ ควรกระทำเฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นต่อการศึกษาวิจัย โดยไม่สามารถใช้สัตว์ ประเภทอื่นทดแทนได้ และการใช้สัตว์ป่านั้นจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายและนโยบายการอนุรักษ์สัตว์ป่า

4.      ผู้ใช้สัตว์ต้องตระหนักว่าสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์

          ผู้ใช้สัตว์ต้องตระหนักว่า สัตว์มีความรู้สึกเจ็บปวดและมีความรู้สึกตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม เช่นเดียวกับมนุษย์ จึงต้องปฏิบัติต่อสัตว์ด้วยความระมัดระวังทุกขั้นตอนนับตั้งแต่การขนส่ง การใช้วัสดุอุปกรณ์ ในการเลี้ยงสัตว์ การจัดการสภาพแวดล้อมของสถานที่เลี้ยง เทคนิคในการเลี้ยง และการปฏิบัติต่อสัตว์ โดยไม่ให้สัตว์ได้รับความเจ็บปวด ความเครียด หรือความทุกข์ทรมาน

5.      ผู้ใช้สัตว์ต้องบันทึกข้อมูลการปฏิบัติต่อสัตว์ไว้เป็นหลักฐานอย่างครบถ้วน

          ผู้ใช้สัตว์ต้องปฏิบัติต่อสัตว์ตรงตามวิธีการที่เสนอไว้ในโครงการและต้องจดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน อย่างละเอียด ครบถ้วน พร้อมที่จะเปิดเผยหรือชี้แจงได้ทุกโอกาส

 

 

ขั้นตอนการขอรับใบอนุญาตใช้สัตว์

1.       กรอกข้อมูลตามแบบคาขอรับใบอนุญาตใช้สัตว์ฯ (Download ที่ www.labanimals.net)

2.       จัดเตรียม (1) สาเนาบัตรประจาตัวประชาชน (2) ใบรับรองแพทย์ (3) รูปถ่ายหน้าตรง 2 นิ้ว จานวน 2 ใบ เพื่อแนบมาพร้อมเอกสาร

3.       ลงทะเบียนเพื่อเข้ารับการอบรมบน website (ค่าลงทะเบียนเข้ารับการอบรม 600 บาท/ครั้ง ชาระได้โดยตรงที่ สถาบันพัฒนาการดาเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ สานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (สพสว. วช.) หรือโอนเงินเข้าบัญชี สานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ เลขที่บัญชี          039-1-11453-0 ธนาคารกรุงไทย สาขาพหลโยธิน 39 (ส่งหลักฐานการโอนเงินที่แฟกซ์ 0-2579-0388 หรือ Email : admin@labanimals.net โดยระบุชื่อ-นามสกุล ผู้เข้ารับการอบรมและวันที่ประสงค์เข้ารับการอบรม)

4.       ยื่นเอกสารที่ สพสว. วช. หรือส่งไปรษณีย์ลงทะเบียนถึง สถาบันพัฒนาการดาเนินการต่อสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ สานักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 196 ถนนพหลโยธิน เขตจตุจักร 10900

 

หมายเหตุ:

ใบอนุญาตใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ประเภท 1” หมายความว่า

          ใบอนุญาตสาหรับบุคคลที่นำสัตว์   เพื่องานทางวิทยาศาสตร์มาเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องานทาง       วิทยาศาสตร์

ใบอนุญาตใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ประเภท 2” หมายความว่า

          ใบอนุญาตสำหรับบุคคลที่ใช้สัตว์ประกอบการสอน

ใบอนุญาตใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์ ประเภท 3”

          หมายความว่า ใบอนุญาตสาหรับบุคคลที่นำสัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์มาเลี้ยงและใช้สัตว์เพื่องาน        ทางวิทยาศาสตร์ ที่ออกให้เป็นการเฉพาะแบบชั่วคราวโดยมีอายุใบอนุญาตไม่เกินหนึ่งปี